สภานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เดิมชื่อ สภานักศึกษาแม่โจ้ จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๒๗ ภายใต้ข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา ปี ๒๕๒๓ หมวดที่ ๓ ข้อที่ ๙ และหมวดที่ ๔ ข้อที่ ๑๐ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภานักศึกษาทั้งสิ้น ๓๘ คน ดังนี้
ปีการศึกษา
๒๕๒๗ |
นายนิรุทธิ์ |
สุขเจริญ |
๒๕๒๘ |
นายสุพรชัย |
เหลืองพิพัฒน์ |
๒๕๒๙ |
นายนิวัตร |
จำปี |
๒๕๓๐ |
นายไชยา |
อ้วยเส็ง |
๒๕๓๑ |
นายปิยรัฐ |
ปรียากร |
๒๕๓๒ |
นายจำลอง |
มะตาด |
๒๕๓๓ |
นายพิพัฒน์ |
เจือละออง |
๒๕๓๔ |
นายณรงชัย |
เจริญรุจิทรัพย์ |
๒๕๓๕ |
นายฐิระ |
ทองเหลือ |
๒๕๓๖ |
นายกิติชัย |
สังข์ทอง |
๒๕๓๗ |
นายจีรศักดิ์ |
กล้างาน |
๒๕๓๘ |
นายกฤษณะ |
ธนธนานนท์ |
๒๕๓๙ |
นายเร่งรัด |
สุทธิสน |
๒๕๔๐ |
นายถาวร |
ทาธิวัน |
๒๕๔๑ |
นายกรกช |
เสมสีสม |
๒๕๔๒ |
นายรัฐวิชญ์ |
พาฉิมพลี |
๒๕๔๓ |
นายรัฐวิชญ์ |
พาฉิมพลี |
๒๕๔๔ |
นายประธาน |
เดชขำ |
๒๕๔๕ |
นายเกศรินทร์ |
ยะโส |
๒๕๔๖ |
นายวิฑูรย์ |
ศรีหาบุญทัน |
๒๕๔๗ |
นายวิฑูรย์ |
ดาชนบท |
๒๕๔๘ |
นายทิเนศร์ |
รัตนพันธ์ |
๒๕๔๙ |
นายไตรเทพ |
หว่างหวังศรี |
๒๕๕๐ |
นายกิตติพงษ์ |
ไชยบุญชู |
๒๕๕๑ |
นายเฉลิมพล |
วิรัญ |
๒๕๕๒ |
นางสาวยุพา |
จูด้วง |
๒๕๕๓ |
นายกิตติชัย |
ภาคีธรรม |
๒๕๕๔ |
นายไตรภพ |
วันละคำ |
๒๕๕๕ |
นายสุรชัย |
ศรีนรจันทร์ |
๒๕๕๖ |
นายปิยณัฐ |
เศษจันทร์ |
๒๕๕๗ |
นายชาญชัย |
จังอินทร์ |
๒๕๕๘ |
นายชาญศิลป์ |
คำปันศักดิ์ |
๒๕๕๙ |
นายกิตติพงศ์ |
พูนทิพย์ |
๒๕๖๐ |
นายธนพงษ์ |
วังทอง |
๒๕๖๑ |
นายธนพงษ์ |
วังทอง |
๒๕๖๒ |
นายประภินวิชฬ์ |
ทาวัน |
๒๕๖๓ |
นายธีรวัฒน์ |
แก้วมงคล |
๒๕๖๔ |
นายสิทธิชัย |
ศรีสวัสดิ์ |
ปัจจุบันปีการศึกษา ๒๕๖๔ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้มีสมาชิกสภานักศึกษาที่เป็นคณะกรรมาธิการสามัญจำนวน ๔๐ คน มีสมาชิกสภานักศึกษาที่เป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน ๑๗ คน
การดำเนินงานของสภานักศึกษามีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ รองศาสตราจารย์ ดร.วาที คงบรรทัด, อาจารย์ปัญญวัจน์ ชลวิชิต, อาจารย์สุรชัย ศรีนรจันทร์, งานวินัยและพัฒนานักศึกษา สังกัดสำนักงานอธิการบดี,กองกิจการนักศึกษา,งานกิจกรรมนักศึกษา เป็นผู้ให้คำปรึกษาทั่วไปแก่สภานักศึกษา ซึ่งในส่วนคณะกรรมการดำเนินงานส่วนกลางประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการวิสามัญ สภานักศึกษาจำนวน ๑๑ คน มีผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการดำเนินงาน ดังนี้
๑. ประธานสภานักศึกษา
๒. รองประธานสภานักศึกษา คนที่ ๑
๓. รองประธานสภานักศึกษา คนที่ ๒
๔. เลขานุการสภานักศึกษา
๕. เหรัญญิกสภานักศึกษา
๖. กิจการพิเศษ
๗. พัสดุ
๘. ประธานฝ่ายพิจารณาโครงการและงบประมาณ
๙. ประธานฝ่ายติดตามและประเมินผลโครงการ
๑๐. ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์สภานักศึกษา
๑๑. ประธานฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิการนักศึกษา
และสภานักศึกษา ได้มีการแบ่งส่วนการบริหารออกเป็น ๔ ฝ่าย คือ ฝ่ายพิจารณาโครงการและงบประมาณ ฝ่ายติดตามและประเมินผลโครงการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภานักศึกษา ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิการนักศึกษา โดยแต่ละฝ่ายมีประธานและคณะกรรมการฝ่ายตามความเหมาะสมซึ่งมีการปฏิบัติตามลักษณะการดำเนินกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยดังนี้
๑. ฝ่ายพิจารณาโครงการและงบประมาณ ทำหน้าที่พิจารณาโครงการต่าง ๆ ที่เสนอโดยสภานักศึกษา องค์การนักศึกษา สโมสรนักศึกษา ชมรม ซึ่งฝ่ายพิจารณาโครงการนั้นอาจเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในโครงการกิจกรรมต่าง ๆ ได้ และพิจารณาหรือตัดงบประมาณในโครงการต่าง ๆ ที่เสนอโดยสภานักศึกษา องค์การนักศึกษา สโมสรนักศึกษา และชมรม ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานก่อให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษามากที่สุด โดยพิจารณาควบคุมให้อยู่ในระเบียบข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษาปี พ.ศ. ๒๕๔๓ และพิจารณาควบคุมให้อยู่ในระเบียบการเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓
๒. ฝ่ายตรวจสอบการเงิน ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของสภานักศึกษา องค์การนักศึกษา สโมสรนักศึกษา ชมรม ติดตามผลการดำเนินงานขององค์การนักศึกษาอย่างใกล้ชิด ออกหนังสือเชิญองค์การนักศึกษา สโมสรนักศึกษา ชมรม เข้าประชุมเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการเงิน ติดตามการเก็บเงินของสภานักศึกษา องค์การนักศึกษา สโมสรนักศึกษา ชมรม ให้ถูกต้องไม่ซ้ำซ้อน ออกหนังสือแจ้งองค์กรนักศึกษาที่มีปัญหาเรื่องการเงินกับทุกองค์กรที่กล่าวมา
๓. ฝ่ายวิเคราะห์และประเมินผลโครงการ ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม หาแนวทางในการแก้ปัญหา ติดตามและประเมินผลว่ากิจกรรมที่องค์กรต่าง ๆ ของนักศึกษา ที่จัดทำขึ้นนั้นประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือมีข้อบกพร่องประการใด ชี้แจงข้อผิดพลาดและปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำกิจกรรมของนักศึกษา วิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย และทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน แบบสอบถามของสภานักศึกษา
๔. ฝ่ายเสียงสภาและสารสนเทศ ทำหน้าที่ในการประมวลปัญหา และเสนอข้อเสนอแนะของนักศึกษาออกในรูปของสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น จัดทำหนังสือพิมพ์เสียงสภา สารสภา วารสาร ฯลฯ จัดทำ สื่อวีดีทัศน์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ เป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจระหว่างผู้บริหารและนักศึกษา เผยแพร่ข่าวสารของมหาวิทยาลัย กิจกรรมของนักศึกษา สาระน่ารู้ที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา และผู้ที่สนใจ
๕. ฝ่ายสวัสดิการของนักศึกษา ทำหน้าที่รักษาสิทธิผลประโยชน์ของนักศึกษาในด้านสวัสดิการที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย สถานประกอบการต่าง ๆ รับเรื่องร้องเรียน และปัญหาต่าง ๆ ที่ได้รับการร้องเรียนจากนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แล้วพิจารณาทำหนังสือเสนอต่อผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบและแก้ไข รักษาสิทธิประโยชน์ในด้านการซื้อสินค้า อาหาร การถ่ายเอกสารแก่นักศึกษาในราคาที่ยุติธรรมตามราคาจริงของสถานประกอบการ และเสนอปัญหาที่นักศึกษาไม่ได้รับความเป็นธรรมในด้านสวัสดิการต่าง ๆ จากสถานประกอบการ หน่วยงานในมหาวิทยาลัย บุคลากร อาจารย์ รุ่นพี่ หรือการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อความยุติธรรมแก่นักศึกษาตามแนวทางประชาธิปไตย
แนวนโยบาย
“จัดระบบการดำเนินงานและการให้บริการที่มีคุณภาพ โดยใช้หลักการบริหารจัดการที่ดี ภายใต้หลักความสามัคคีและ ธรรมาภิบาล เพื่อสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้นำไปสู่องค์กรคุณภาพ”
นโยบาย
๑. ปรับยุทธศาสตร์การทำงานของสภานักศึกษา ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
๒. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างสภานักศึกษากับองค์กรนักศึกษาอื่นๆ
๓. ปรับปรุงโครงสร้างการทำงานของสภานักศึกษา ให้ตอบสนองต่อนโยบายมหาวิทยาลัยและวิสัยทัศน์สภานักศึกษา
๔. ส่งเสริม สนับสนุน ควบคุมดูแล ตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรนักศึกษาให้มีคุณภาพและเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ ประกาศ ทั้งนำเสนอสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ของมหาวิทยาลัย และข้อคิดเห็นอื่นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษา
๕. ดำเนินงานด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม โดยวางระเบียบการบริหารงานสภานักศึกษา ให้เป็นระบบและทันสมัยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษา
๖. ส่งเสริมให้ความรู้ สร้างความภาคภูมิใจในสถาบัน ในสภานักศึกษา แก่คณะกรรมการบริหารงานสภานักศึกษา สมาชิกสภานักศึกษาและนักศึกษาทั่วไป ให้เห็นถึงความสำคัญของสภานักศึกษา และตระหนักถึงหน้าที่ของตนเอง
๗. รักษาไว้ซึ่ง สิทธิ อันพึงมีพึงได้ ของนักศึกษาและให้ความรู้แก่นักศึกษาในเรื่อง หน้าที่และสิทธิ โดยสภานักศึกษาต้องเป็นศูนย์กลางรับฟังความคิดเห็น จากนักศึกษาเพื่อเสนอแนะแก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมไปถึงเป็นกระบอกเสียงของนักศึกษาอย่างแท้จริง
๘. สร้างเครือข่ายภายใน และภายนอกองค์กร โดยสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานกิจกรรมทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัย
๙. สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดี ระหว่างชมรมศิษย์เก่าสภานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
๑๐.ปรับปรุงการทำงานของสภานักศึกษาให้มีมาตรฐาน สะดวก รวดเร็ว ตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน
หลักธรรมาภิบาล ๖ ประการคือ
๑. หลักนิติธรรมคือการตรากฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับและกติกาต่างๆให้ทันสมัยและเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิกในองค์กรโดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
๒. หลักคุณธรรมคือการยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงามสร้างค่านิยมที่ดีงามให้สมาชิกในองค์กร ถือปฏิบัติร่วมกันเช่นความสื่อสัตย์สุจริตความเสียสละความมีระเบียบวินัยหลักศีลธรรมจริยธรรมความเป็นผู้นำและตัวอย่างที่ดีเป็นต้น
๓. หลักความโปร่งใสคือการทำให้ทุกอย่างของการดำเนินงานถูกต้องตรงไปตรงมาและสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการปรับปรุงระบบและกลไกการทำงานให้โปร่งใสมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
๔. หลักความมีส่วนร่วมคือการทำให้ประชาคมมีส่วนร่วมรับรู้และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจโดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมซึ่งจะก่อให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันในการรวมพลังขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัยและองค์กรต่อไป
๕. หลักความรับผิดชอบคือผู้บริหารและสมาชิกในองค์กร ต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างเต็มความสามารถโดยมุ่งให้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับบริการอำนวยความสะดวกต่างๆมีความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบอยู่และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไข
๖. หลักความคุ้มค่าคือผู้บริหารและสมาชิกในองค์กร ต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจำกัดดังนั้นในการบริหารจัดการจำเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดคุ้มค่าและการออมโดยยึดผลสัมฤทธิ์จากการวางแผน